หางาน
BuddyJob
ค้นหางาน
  • หางาน
  • บทความหางาน
  • ดูดวง
  • แคปชั่น
  • ร้านอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • บิวตี้
  • มือถือ แกดเจ็ต
  • วาไรตี้
  • ไลฟ์สไตล์
  • สินเชื่อ
No Result
View All Result
  • หางาน
  • บทความหางาน
  • ดูดวง
  • แคปชั่น
  • ร้านอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • บิวตี้
  • มือถือ แกดเจ็ต
  • วาไรตี้
  • ไลฟ์สไตล์
  • สินเชื่อ
No Result
View All Result
BuddyJob
หางาน
บทความ ไลฟ์สไตล์

รู้สักนิดชีวิตปลอดภัย! หน้าฝนเห็ดออกเยอะ จะแยกเห็ดพิษออกจากเห็ดกินได้อย่างไร อ่านด่วน !

BuddyJob by BuddyJob
04/07/2025
in ไลฟ์สไตล์
0


ร.อ.ภูรีวรรธน์ โชคเกิด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด(นพ.สสจ.)เชียงใหม่ กล่าวว่า ขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝนเริ่มมีเห็ดขึ้นตามธรรมชาติจำนวนมาก มีทั้งเห็ดกินได้และกินไม่ได้ ซึ่งคือ ?เห็ดพิษ? แต่กลับมีลักษณะใกล้เคียงกับเห็ดที่กินได้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และเก็บมากินจนเป็นอันตรายแก่ชีวิต
จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรค สสจ.เชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ? 23 พฤษภาคม 2560 พบผู้ป่วยจากการกินเห็ดพิษแล้ว 2 ราย เพศชาย อายุ 45 และ 53 ปี เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเวียงแหง ถูกส่งต่อมารักษาตัวที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ขณะนี้ ยังพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
เห็ดที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตส่วนใหญ่ คือ เห็ดระโงกพิษ บางแห่งเรียกว่า เห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก หรือเห็ดไข่ตายซาก ซึ่งเห็ดชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มเห็ดที่มีความคล้ายคลึงกับเห็ดระโงกขาวหรือไข่ห่านที่สามารถกินได้ แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ เห็ดระโงกพิษ จะมีก้านสูงกลางดอกหมวกจะนูนเล็กน้อย มีกลิ่นเอียนและค่อนข้างแรง นอกจากนี้ยังมีเห็ดป่าชนิดที่มีพิษรุนแรงอีกคือ เห็ดเมือกไครเหลือง โดยประชาชนมักสับสนกับเห็ดขิง ซึ่งชนิดที่เป็นพิษจะมีเมือกปกคลุมและมีสีดอกเข้มกว่า แต่ยากแก่การสังเกตด้วยตาเปล่า ส่วนเห็ดชนิดสุดท้าย คือ เห็ดหมวกจีน จะเป็นเห็ดที่คล้ายกับเห็ดโคนขนาดเล็กของบ้านเรา
ทั้งนี้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้ทดสอบความเป็นพิษของเห็ด เช่น การจุ่มช้อนเงินลงไปในหม้อต้มเห็ด การนำไปต้มกับข้าวสาร เป็นต้น วิธีเหล่านี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิงในการใช้ทดสอบพิษกับเห็ดกลุ่มนี้ได้ โดยเฉพาะเห็ดระโงกพิษที่มีสารที่ทนต่อความร้อน แม้จะปรุงให้สุกแล้ว เช่น ต้ม แกง ก็ไม่สามารถทำลายสารพิษนั้นได้
สำหรับอาการหลังจากกินเห็ดพิษแล้ว จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือถ่ายอุจจาระเหลว ไม่ควรซื้อยากินเองหรือไปรักษากับหมอพื้นบ้าน จะต้องรีบไปพบแพทย์ และแจ้งประวัติการกินเห็ดโดยละเอียด พร้อมกับนำตัวอย่างเห็ดพิษไปด้วย(หากยังเหลืออยู่) และควรให้ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือ นัดติดตามอาการทุกวันจนกว่าจะหายเป็นปกติ เนื่องจากเห็ดพิษชนิดร้ายแรงจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในช่วงวันแรก แต่หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงตามมาคือ การทำงานของตับและไตล้มเหลว ทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับการช่วยเหลือผู้ป่วยที่กินเห็ดพิษเบื้องต้นให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเศษอาหารที่ตกค้างออกมาให้มากที่สุด โดยการล้วงคอ หรือกรอกไข่ขาวจากนั้นรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
ขอเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการเก็บเห็ดไข่ห่าน เห็ดโม่งโก้ง เห็ดระโงก หรือเห็ดระงาก ขณะที่ยังเป็นดอกอ่อนหรือดอกตูม ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนกลมรี คล้ายไข่ มารับประทาน เนื่องจากไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นเห็ดมีพิษหรือไม่มีพิษ เพราะลักษณะดอกตูมภายนอกจะเหมือนกัน ที่สำคัญหากไม่แน่ใจ ไม่รู้จักหรือสงสัยว่าจะเป็นเห็ดพิษ ก็ไม่ควรเก็บหรือซื้อมาปรุงอาหาร รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินเห็ดพร้อมกับดื่มสุรา เพราะฤทธิ์จากแอลกอฮอล์จะทำให้พิษเห็ดแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และทำให้อาการรุนแรงขึ้นด้วย ร.อ.ภูรีวรรธน์กล่าว

ร.อ.ภูรีวรรธน์ กล่าวว่า หลักสำคัญคือ ต้องรู้จักเห็ดชนิดนั้นเป็นอย่างดีก่อนจะนำมาปรุงอาหาร และหากสงสัยว่าเกิดอาการป่วยจากเห็ด ให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที หรือโทรสายด่วน 1669
ขอบคุณเนื้อหาจาก:morning-news.bectero.com

บทความแนะนำ

ไลฟ์สไตล์

รู้ให้ชัด โรคแพนิค เกิดจากอะไรได้บ้าง : คู่มือฉบับเริ่มต้น

ไลฟ์สไตล์

เลือกโรงงานรับผลิตเสื้อโปโลยังไง ได้เสื้อสวยถูกใจ ขายได้ราคา

ไลฟ์สไตล์

อ่านแล้วกระจ่างเลย! 5 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโรคสิว

ไลฟ์สไตล์

ง่ายๆ กับ 5 วิธีกำจัดเห็บหมัด ในสัตว์เลี้ยงให้หมดไป คุณสามารถทำด้วยตนเองได้ง่ายๆ

Next Post

รักคงยังไม่พอ!! หากเขาทำร้ายคุณด้วยการกระทำเหล่านี้

  • หางาน
  • บทความหางาน
  • ดูดวง
  • แคปชั่น
  • ร้านอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • บิวตี้
  • มือถือ แกดเจ็ต
  • วาไรตี้
  • ไลฟ์สไตล์
  • สินเชื่อ
ติดต่อเรา webmaster@buddyjob.com

© 2023 BuddyJob.com

No Result
View All Result
  • หางาน
  • บทความหางาน
  • ดูดวง
  • แคปชั่น
  • ร้านอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • บิวตี้
  • มือถือ แกดเจ็ต
  • วาไรตี้
  • ไลฟ์สไตล์
  • สินเชื่อ

© 2023 BuddyJob.com