หางาน
BuddyJob
ค้นหางาน
  • หางาน
  • บทความหางาน
  • ดูดวง
  • แคปชั่น
  • ร้านอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • บิวตี้
  • มือถือ แกดเจ็ต
  • วาไรตี้
  • ไลฟ์สไตล์
  • สินเชื่อ
No Result
View All Result
  • หางาน
  • บทความหางาน
  • ดูดวง
  • แคปชั่น
  • ร้านอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • บิวตี้
  • มือถือ แกดเจ็ต
  • วาไรตี้
  • ไลฟ์สไตล์
  • สินเชื่อ
No Result
View All Result
BuddyJob
หางาน
บทความ ไลฟ์สไตล์

เลิกงมงาย แล้วหันมาเข้าใจอารมณ์ “อกหัก” แบบวิทยาศาสตร์กันเถอะ

BuddyJob by BuddyJob
04/07/2025
in ไลฟ์สไตล์
0

คนส่วนใหญ่ยาม อกหัก
ก็มักจะดำดิ่งอยู่กับอารมณ์เศร้า ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาเนอะไม่ว่ากัน
พอสตรองแล้วก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่
แต่ก็มีหลายคนที่ทิ้งตัวยาวกับความเศร้าจนฉุดไม่ขึ้น
รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นโรคซึมเศร้า ไม่เป็นอันเรียนหรือเสียการเสียงาน
หรือที่ร้ายกว่านั้นคือ สูญเสียความอยากมีชีวิตบนโลกใบนี้ต่อไป

ถ้าการนั่งฟังเพลงอกหัก ดื่มเหล้าเมามาย ยืนร้องไห้กลางสายฝน หรือเปิดฝักบัวอาบน้ำทั้งเสื้อผ้านั้นไม่สามารถช่วยเธอได้
ลองมาฟังคำอธิบายสภาวะอกหักแบบวิทยาศาสตร์ดูไหม
มาเข้าใจธรรมชาติของตัวเรากับอาการอกหัก เผื่ออะไรที่เคยยากมันจะง่ายขึ้น

  • หงุดหงิดผิดหวัง

นักวิทยาศาสตร์บอกว่าอาการอกหักในช่วงแรกนั้นเรียกว่าช่วงต่อต้าน
(ยังรับไม่ได้ ปรับใจไม่ทัน) ซึ่งเต็มไปด้วยความผิดหวัง หงุดหงิดใจ
ไม่พอใจ อันเป็นผลมาจากสมองส่วนที่ควบคุมความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ
ทำงานผิดปกติไปนั่นเอง ในช่วงนี้ร่างกายจะหลั่ง
ฮอร์โมนโดพามีน  และ นอร์อิปิเนฟริน
ในระดับสูงมาก เจ้าฮอร์โมนตัวนี้ปกติจะทำให้เรารู้สึกดีมีความสุข
แต่ในยามอกหักผิดหวังพวกมันกลับทำให้เรารู้สึกแย่มากกว่าปกติหลายเท่าเลยทีเดียว
(สุขมาก?ก็?ทุกข์มาก) อาการที่เกิดขึ้นคือ หมดเรี่ยวแรง
เพ้อถึงแต่ความหลัง นอนไม่หลับกระสับกระส่าย

  • เจ็บแค้นเคืองโกรธ

ความโกรธเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ
ตราบใดที่เรายังควบคุมตัวเองได้อยู่
แต่ความโกรธในช่วงอกหักนี้เป็นอะไรที่ควบคุมยากกว่าปกติ
ซึ่งเป็นผลมาจากสมองในส่วน
Amygdala
ที่ทำหน้าที่จัดการเรื่องความทรงจำ การตัดสินใจ และการตอบสนองต่ออารมณ์
และในยามโกรธระดับฮอร์โมนเซโรโทนินจะลดลงฮวบฮาบ
ซึ่งมีผลต่อการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความเจ็บปวด
ความต้องการทางเพศ บลาบลาบลา ระดับเซโรโทนินที่ไม่สมดุลทำให้เกิดความเครียด
คิดหมกมุ่น และนำไปสู่การทำอะไรแบบขาดความยับยั้งชั่งใจ หุนหันพลันแล่น
(อย่างเช่น ไปทำร้ายร่างกายคนอื่น หรือตัวเอง)
และยังส่งผลไปถึงระบบการย่อยอาหาร อาจเกิดอาการอาหารไม่ย่อย
หรือคลื่นไส้อาเจียน อีกด้วย

  • สิ้นหวังเดียวดาย

ความรู้สึกสิ้นหวังเดียวดายเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคนอกหักเป็นปกติ
เพราะระดับฮอร์โมนโดพามีน เซโรโทนีน และนอร์อิปิเนฟรินที่ไม่ปกตินี่เอง
อาการที่เกิดคือรู้สึกหดหู่ หมดอาลัยตายอยาก หมดสภาพ
จากการสำรวจชิ้นหนึ่งพบว่า 3 ใน 4
ของคนอกหักที่เกิดอาการสิ้นหวังเดียวดายนี้มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
เจ้าระดับความสิ้นหวังหดหู่นี้ยังแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลอีกด้วย
มีงานวิจัยรายงานว่าผู้ชายเมื่อสิ้นหวังมักจะหันไปพึ่งแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด
ในขณะที่ผู้หญิงมีแน้วโน้มที่จะมีอาการร้องไห้ฟูมฟาย
คร่ำครวญหวลไห้ไม่หยุด หรือไม่ก็ตัดขาดจากโลกภายนอกไปเลยจ้า

 

วิธีรับมือกับอารมณ์ยามอกหัก :

  1. กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขออกมาให้มากที่สุดด้วยการพาตัวเองไปอยู่กับบุคคลหรือเรื่องราวอะไรก็ได้ที่ทำให้เรายิ้มหรือหัวเราะออกมา
    หาหนังตลก เดี่ยวไมโครโฟน หรือเปิดคลิปฮาๆ ตามแต่ความชอบส่วนตัว
    บังคับให้ร่างกายได้ยิ้มได้หัวเราะวันละนิดวันละหน่อยก็ยังดี
  2. อย่าจมอยู่กับห้องมืด
    ๆ ทั้งวัน
    ให้ออกไปรับแสงสว่างภายนอกด้วยจะช่วยกระตุ้นต่อมไพเนียลในสมองที่จะเป็นตัวหลั่งสารเซโรโทนินออกมาในตอนกลางวัน
    ทำให้ร่างกายทำงานปกติ ไม่ง่วงเหงาหาวนอนในตอนกลางวัน
    ส่วนตอนกลางคืนก็จะได้รู้สึกง่วงตามปกติ
  3. ระบายมันออกมา
    เช่น หาสมุดบันทึกสักเล่มมาเขียนเล่าความรู้สึก ดูอย่าง เทเลอร์ สวิฟท์ สิ
    นางอกหักทีไรแต่งเพลงออกมาขายได้ขายดีทุกที (พลิกวิกฤติเป็นโอกาส!)
    หรือคุยกับเพื่อนสนิทที่เราไว้ใจได้
    การพูดหรือเขียนออกมาจะช่วยให้เราได้เรียบเรียงสติ มองเห็นจุดปัญหา
    ซึ่งนำไปสู่การค่อย ๆ ยอมรับมัน ดีกว่ามโนฟุ้งซ่านอยู่ในความคิดคนเดียว
    (เดี๋ยวเพื่อนอกหักเราก็สลับมาเป็นผู้ฟังบ้างเนอะ)
  4. ปรนเปรอตัวเอง
    ด้วยการทำสิ่งที่เรามีความสุข เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขออกมา
    เช่น กินอาหารอร่อยๆ ไปนวดหน้านวดตัว ทำให้ตัวเองรู้สึกดี
    แม้สักนิดสักหน่อย ถึงใครเขาจะไม่รักเราแต่เราต้องรักตัวเองค่ะซิส!
  5. ไปสมัครเรียนทำอะไรสักอย่างที่จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น เช่น เรียนทำขนมปัง ขี่ม้า เล่นดนตรี เรียนแต่งหน้า
    อะไรก็ว่าไป ถึงจะเรียนไปเศร้าไปก็เถอะ
    แต่เราจะไม่จมอยู่กับความเศร้าตลอดเวลา และการได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
    จะช่วยเพิ่มความรู้สึกนับถือตัวเอง เมื่อเรารู้สึกว่าตัวเองมีค่า
    เราก็จะค่อย ๆ ลืมคนที่เค้าไม่เห็นคุณค่าของเราไปเอง!

ไม่เร็วก็ช้า ร่างกายจะค่อย ๆ
ปรับสมดุลตัวเองได้ในที่สุด
เมื่อถึงเวลานั้นอาการเฮิร์ททั้งหลายก็จะค่อยๆหายไป
จนไปถึงจุดที่เราทำใจยอมรับความเป็นจริงได้ในที่สุด
แม้อาจจะมีร่องรอยเหลือไว้ให้เจ็บจี๊ดเวลาไปสะกิดแผลอยู่บ้างก็เถอะ

 

 

Credit: everydayfeminism.com

 

บทความแนะนำ

ไลฟ์สไตล์

รู้ให้ชัด โรคแพนิค เกิดจากอะไรได้บ้าง : คู่มือฉบับเริ่มต้น

ไลฟ์สไตล์

เลือกโรงงานรับผลิตเสื้อโปโลยังไง ได้เสื้อสวยถูกใจ ขายได้ราคา

ไลฟ์สไตล์

อ่านแล้วกระจ่างเลย! 5 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโรคสิว

ไลฟ์สไตล์

ง่ายๆ กับ 5 วิธีกำจัดเห็บหมัด ในสัตว์เลี้ยงให้หมดไป คุณสามารถทำด้วยตนเองได้ง่ายๆ

Next Post

ตัวจริงหรือตัวสำรอง กันแน่!! จับ 5 พฤติกรรมของผู้ชายที่แสดงให้รู้ว่าเราเป็นตัวสำรองหรือตัวจริง

  • หางาน
  • บทความหางาน
  • ดูดวง
  • แคปชั่น
  • ร้านอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • บิวตี้
  • มือถือ แกดเจ็ต
  • วาไรตี้
  • ไลฟ์สไตล์
  • สินเชื่อ
ติดต่อเรา webmaster@buddyjob.com

© 2023 BuddyJob.com

No Result
View All Result
  • หางาน
  • บทความหางาน
  • ดูดวง
  • แคปชั่น
  • ร้านอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ที่พัก
  • บิวตี้
  • มือถือ แกดเจ็ต
  • วาไรตี้
  • ไลฟ์สไตล์
  • สินเชื่อ

© 2023 BuddyJob.com